หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล บ้านทับ ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
หน้าหลัก

Home
ข้อมูลหน่วยงาน

history
บุคลากร

Staff
การบริหารบุคคล

Personnel
ข่าวสาร

News
แผน

Planning
รายงาน

Report
ระเบียบ

Rules
บริการประชาชน

Service
 
   

 

 

 
รับเรื่องราวร้องเรียน
โทร : 095-675-3517
 
 
เกี่ยวกับตำบล อาณาเขตติดต่อ สภาพทั่วไป ข้อมูลประชากร
 

   
ตำบลบ้านทับจัดตั้งขึ้นเป็นตำบล เมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานบ่งบอกที่แน่ชัด ทราบแต่ว่ามี นายแก้ว (ไม่ทราบนามสกุล) เป็นกำนันคนแรกของตำบล

ปี 2487 นายก๋อง สมนวล ดำรงตำแหน่งเป็นกำนัน แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 หมู่บ้าน

ปี พ.ศ. 2509 นายรุ่งศิลป์ ร่มโพธิ์ ดำรงตำแหน่งกำนัน ได้แยกหมู่บ้านแบ่งเขตการปกครองเพิ่มขึ้นอีก 4 หมู่บ้าน

ปี พ.ศ. 2519 นายสะอาด เตชะแก้ว ดำรงตำแหน่งกำนัน จนกระทั่งเสียชีวิตในปี 2520

ปี พ.ศ. 2521 นายอินทร์ ประสงค์ดี ดำรงตำแหน่งกำนัน ได้แยกหมู่บ้านแบ่งเขตการปกครองเพิ่มขึ้นอีก 4 หมู่บ้าน จาก 16 หมู่บ้าน เป็น 20 หมู่บ้าน

ปี พ.ศ. 2524 ทางราชการได้แบ่งเขตการปกครองของตำบลบ้านทับออกเป็น 2 ตำบล คือ ตำบลบ้านทับ และ ตำบลปางหินฝน โดยเขตการปกครองของตำบลเดิม เหลือ 9 หมู่บ้าน

ปี พ.ศ. 2535 ได้แยกหมู่บ้านเพิ่มอีก 2 หมู่บ้าน ปี พ.ศ. 2534 มีการจัดตั้งสภาตำบล ปี พ.ศ. 2539 ได้แยกหมู่บ้านเพิ่มขึ้นอีก 2 หมู่บ้าน ปัจจุบันตำบลบ้านทับแบ่งการปกครองออกเป็น 13 หมู่บ้าน
 

 
ตำบลบ้านทับได้รับการยกฐานะเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านทับ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2539 และปรับขนาดเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ขนาดกลาง เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2553
 

 
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านทับ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านทับ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ 417.10 ตารางกิโลเมตร หรือ 260,688 ไร่
 
 
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ต.ปางหินฝน, ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
  ทิศใต้ ติดต่อกับ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่  
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ต.ท่าผา, ต.กองแขก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
  ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อ.แม่ลาน้อย และ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน  
 
 
 
 

     
ลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่ตำบลบ้านทับ เป็นภูเขาสูงและลาดชัน มีที่ราบหุบเขาและที่ราบเชิงเขาเป็นส่วนน้อย ซึ่งถิ่นเป็นที่อยู่อาศัยและที่ทำกินถาวร พื้นที่ทำการเกษตรมีน้อย มีพื้นที่นาบางส่วน ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำไร่เลื่อนลอย มีลำห้วยที่ใช้เพื่อการเกษตรและบริโภค จำนวน 9 ลำห้วย

พื้นที่ราบหุบเขา ร้อยละ 5

พื้นที่ราบเชิงเขา ร้อยละ 10

พื้นที่ภูเขา ร้อยละ 85
 

     

ฤดูร้อน มีนาคม - เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ย 30 - 34 องศาเซลเซียส

ฤดูฝน พฤษภาคม - ตุลาคม อุณหภูมิเฉลี่ย 18 - 20 องศาเซลเซียส

ฤดูหนาว พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ย 8 - 12 องศาเซลเซียส
ปริมาณน้ำฝนสูงสุดจะอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม และจะมีฝนตกกระจายไปจนตลอดเดือนตุลาคม
 

     

อาชีพหลัก
 
ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำไร่และทำนา พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวไร่ ข้าวโพด หอมแดง และถั่วเหลือง มีการใช้แรงงาน ในภาคการเกษตรเฉลี่ย 5 คน/ครัวเรือน

อาชีพรอง
 
เลี้ยงสัตว์ เช่น โค กระบือ เพื่อจำหน่วยและบริโภค
 
รับจ้าง
 
อุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น ทอผ้า, จักสาน
 
 

     
จำนวนประชากรทั้งหมด 6,416 คน แยกเป็น

ชาย  จำนวน 3,311 คน คิดเป็นร้อยละ 51.61

หญิง จำนวน 3,105 คน คิดเป็นร้อยละ 48.39
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,179 ครัวเรือน
ความหนาแน่นเฉลี่ย 15.38 คน/ตารางกิโลเมตร
 
หมู่ที่ บ้าน/หย่อมบ้าน
จำนวนประชากร
ชาย หญิง รวม
จำนวน
ครัวเรือน
  1   แม่ขี้มูก (สองธาร) 78 85 163 83  
2   มืดหลอง 160 138 298 106
  3   แม่ลอง 225 240 465 193  
4   แม่ป๊อก-ห้วยหวาย 165 165 330 97
  5   สบลอง 85 72 157 121  
6   ทุ่งแก 419 400 819 271
  7   แม่แอบ 706 672 1,378 416  
8   อมแรด 162 142 304 101
  9   กิ่วสะแวก 320 312 632 216  
10   ถวน-กองกาย 297 273 570 179
  11   อมสูง 298 249 547 160  
12   ขุนปอน-ห้วยวอก 196 167 363 111
  13   แม่ขี้มูกน้อย 200 190 390 125  
    รวม 3,311 3,105 6,416 2,179
 
แหล่งข้อมูล:สำนักทะเบียนอำเภอแม่แจ่ม ณ 30 กันยายน 2560